UFABETWIN กลุ่มไหนหนักที่สุด?.. เหตุใดเราจึงไม่ได้เห็น กลุ่มแห่งความตาย ในฟุตบอลโลกได้อีกแล้ว?

UFABETWIN

จบลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับการจับสลากแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เพื่อกำหนดสายการแข่งขันของทีมชาติต่างๆที่จะเดินทางไปลงห้ำหั่นกัน ณ ประเทศกาตาร์ ในช่วงปลายปี 2022 นี้

นอกจากสีสันของการรอดูว่าทีมชาติใดต้องมาเจอกันบ้างแล้ว อีกหนึ่งไฮไลต์ของแฟนบอลจากการจับสลากครั้งนี้คงไม่พ้นการรอชมว่ากลุ่มใดจะถูกเรียกว่าเป็น “กลุ่มแห่งความตาย” หรือเป็นการรวมยอดทีมคุณภาพสูงมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อสร้างสีสันและความตื่นเต้นตั้งแต่สัปดาห์แรกๆของฟุตบอลโลก

ทว่าในฟุตบอลโลกที่กาตาร์หนนี้ นอกจากการร่วมสายของ สเปน กับ เยอรมนี แล้ว ก็ไม่มีกลุ่มไหนหรือคู่ใดเลยที่ดูจะเป็นงานหนักตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งคำถามคือ กลุ่มแห่งความตาย ที่เคยมีต้นกำเนิดมาจากฟุตบอลโลกในอดีตนั้นหายไปไหนและด้วยสาเหตุใดกันแน่?

ตำนานกลุ่มแห่งความตาย

คำว่า “กลุ่มแห่งความตาย” นั้นมีจุดเริ่มต้นที่แท้จริงมาจากฟุตบอลโลกปี 1970 ที่แชมป์เก่าอย่าง อังกฤษ, ทีมเต็งหนึ่งอย่าง บราซิล, รองแชมป์โลกเมื่อแปดปีก่อนอย่าง เชโกสโลวาเกีย และ โรมาเนีย โคจรมาพบกันในรอบแบ่งกลุ่ม จนสื่อท้องถิ่นได้ตั้งฉายากลุ่มดังกล่าวไว้ว่า
“กลุ่มเดอลามูเอร์เต” อันสามารถแปลความหมายได้ว่าเป็นกลุ่มแห่งความตายอย่างที่เราคุ้นหูกัน

หลังจากวันนั้นมา “กลุ่มแห่งความตาย” ก็ได้เป็นคำที่แพร่หลายไปยังวงการกีฬาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตามนิยามโดยตรงว่านี่คือกลุ่มแห่งความตายที่แต่ละทีมจะต้องใส่ทุกอย่างลงมาแบบสุดตัว หรือมีหนึ่งทีมที่ต้องโดนฆาตกรรมโดยละม่อมจากการถูกจับมาอยู่รวมกลุ่ม จนดูราวกับเป็น “ไม้ประกอบ” ของสายแข็งเหล่านี้

 

UFABETWIN

อีกนัยหนึ่งของกลุ่มแห่งความตายยังเคยถูกนำไปเพื่อใช้แทน “ความตาย” อย่างจริงจังมาแล้วรอบหนึ่ง โดยครั้งนั้นเกิดขึ้นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกปี 1994 โซนเอเชีย ที่มีทั้ง เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, อิรัก, อิหร่าน และ ซาอุดีอาระเบีย ที่ผ่านเข้ามาชิงตั๋วไปเตะฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าชาติเหล่านี้มีประเด็นขัดแย้งทางการทหารกันอยู่ แต่โชคยังดีที่การแข่งขันครั้งดังกล่าวถูกจัดขึ้นที่สนามกลางในประเทศกาตาร์ จนไม่เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการบินไปเยือนประเทศคู่แข่ง ณ เวลานั้น

คำถามคือ “กลุ่มแห่งความตาย” สามารถเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? เพราะแน่นอนว่าฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นรายการที่รวมยอดทีมชาติจากทั่วทุกมุมโลกมาประลองฝีมือกันเพื่อช่วงชิงความเป็น “แชมป์โลก” ซึ่งมันควรจะเป็นเรื่องปกติถ้าหากบังเอิญมียอดทีมโคจรมาอยู่กลุ่มเดียวกัน เพราะการจับสลากนั้นก็เป็นการสุ่มรูปแบบหนึ่งที่อะไรก็มีโอกาสเกิดขึ้นมาได้ไม่ใช่หรือ?

สิ่งนี้นำเราไปสู่ประเด็นถัดไป นั่นคือการจับสลากรอบแบ่งกลุ่มที่ดูเป็นการสุ่มนั้น ไม่ได้มาจากการสุ่มแบบ 100% เสียเลยทีเดียว ด้วยปัจจัยต่างๆ นานา จาก ผู้ประสงค์ให้การแข่งขันมีความเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด

แบ่งกลุ่มสุดซับซ้อน

หากมองแบบผิวเผิน การแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายอาจถูกสรุปได้ว่าเป็นการแบ่งตามตำแหน่งที่ตั้งของชาติต่างๆ จนมาถึงปี 2018 ที่ นำวิธีแบ่งตามลำดับโลกมาใช้เป็นหลักในการแบ่งทีมทั้ง 4 โถเป็นลำดับแรก ควบคู่กับข้อจำกัดว่าทีมจากทวีปไหนสามารถเจอกับใครได้บ้าง แต่ในรายละเอียดลึกลงไปแล้วมันไม่ได้ง่ายอย่างที่เห็น

หากแฟนบอลที่ติดตามฟุตบอลยุโรปอยู่แล้ว คุณอาจจะคุ้นเคยกับกระบวนการเหล่านี้ระหว่างจับสลากแบ่งกลุ่มยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ที่มีข้อจำกัดว่าทีมจากชาติเดียวกันจะไม่สามารถโคจรมาพบกันได้ หรืออยู่ในกลุ่มชุดที่มีคิวลงเตะวันเดียวกัน เนื่องจากเหตุผลด้านลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดและการรักษาความปลอดภัย ซึ่งกรณีดังกล่าวก็ถูกนำมาต่อยอดในฟุตบอลโลกครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

ข้อจำกัดสำหรับการแบ่งกลุ่มทีมชาติในครั้งนี้ คือชาติจากทวีปเดียวกันไม่สามารถอยู่ร่วมกลุ่มกันได้ ยกเว้นเพียงยุโรป ที่มีชาติผ่านเข้ารอบมากถึง 13 ทีม แต่มีกลุ่มให้กระจายไปอยู่กันได้แค่ 8 กลุ่มเท่านั้น ทำให้ต้องมีอย่างน้อย 5 กลุ่มที่มีทีมจากยุโรปมาชนกันเองตั้งแต่แรก และยังต้องนำทีมที่อยู่ระหว่างการเพลย์ออฟอย่างคู่ของ ออสเตรเลีย (เอเชีย) หรือ เอกวาดอร์ กับ เปรู (อเมริกาใต้) กับคู่ นิวซีแลนด์ (โอเชียเนีย) กับ คอสตาริกา (อเมริกาเหนือ+กลาง) มาพิจารณาล่วงหน้าอีกด้วย

นี่คืออัลกอริทึมของ ที่จะต้องคำนวณสถานการณ์ล่วงหน้าตั้งแต่แบ่งกลุ่ม เช่น ทีมจากเอเชียจะไม่มีโอกาสมาร่วมกลุ่ม A เพราะมี กาตาร์ ที่เป็นเจ้าภาพไปรออยู่แล้ว ซึ่งแปลว่าทีมจากโถ 3 อันประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, และ อิหร่าน ต่างมีโอกาสได้อยู่ร่วมสายกับเจ้าภาพมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่ทีมจากทวีปเดียวกันมาเจอกันเองในภายหลังได้

วิธีการดังกล่าวทำให้การแข่งขันนั้นแฟร์ขึ้น เพราะนอกจากจะต้องแบ่งทีมตามอันดับโลก (ยกเว้นเจ้าภาพ) แต่ละกลุ่มยังต้องถูกแบ่งตามทวีปเพิ่มเติมอีก เพื่อเกลี่ยให้มีความหลากหลายจากทวีปต่างๆมากขึ้น ซึ่งนั่นต้องแลกมาด้วยโอกาสเกิด “กลุ่มแห่งความตาย” ที่น้อยลงไป

ยกตัวอย่างกลุ่มแห่งความตายในอุดมคติของคนดู เช่น บราซิล, เยอรมนี, เซเนกัล, และ เวลส์ จะโคจรมาพบกันนั้นมีอัตราความน่าจะเป็นอยู่แค่ 14.3%, 11.3%, และ 12.9% ตามลำดับเท่านั้น เพราะเมื่อจับได้ บราซิล ขึ้นมาจากโถ 1 กลุ่มดังกล่าวจะถูกให้ความสำคัญกับทีมจากทวีปยุโรปก่อน เพื่อกระจายชาติยุโรปเข้าไปให้เต็มโควตา ก่อนที่ทีมจากทวีปอื่นจะถูกนำเข้าตามมา พร้อมกับต้องประมวลผลว่าการจับสลากเลือกดังกล่าวจะไม่ไปทำให้มีสถานการณ์ การหยุดชะงัก เกิดขึ้นในภายหลัง เช่น ทีมจากเอเชียหรือแอฟริกาต้องมาเจอกันเองอีก ซึ่งนั่นยิ่งลดโอกาสที่เราจะได้เห็นทีมใหญ่ๆ โคจรมาเจอกันเองไปพอสมควร

เว้นเสียแต่เคสของกลุ่ม E ที่ สเปน กับ เยอรมนี โคจรมาพบกันพอดี เพราะทั้งสองทีมต่างมาจากทวีปยุโรปและเป็นทีมที่ถือว่ามีภาษีใกล้เคียงกัน ซึ่งไปเพิ่มโอกาสให้กลุ่มนี้ได้ยอดทีมจากโถ 3 อันประกอบไปด้วยตัวแทนระดับต้นๆจากเอเชียและแอฟริกา จนได้ ญี่ปุ่น เข้ามาเสริมความแกร่งอีกทีม โดยไม่ต้องกังวลว่าทาง เซอร์เบีย หรือ โปแลนด์ ผู้เป็นตัวเต็งจะถูกจับได้จากโถ 3 ที่จะเข้ามามีผลกระทบเพราะโควตาทีมจากยุโรปนั้นเต็มไปก่อนหน้าแล้ว

อีกหนึ่งกรณีที่เพิ่มเลเวลความซับซ้อนไปอีกขั้น คือการเพลย์ออฟในโถ 4 ที่ทำให้คู่ของ ออสเตรเลีย/เอกวาดอร์ กับ เปรู ไม่สามารถไปอยู่ในกลุ่มที่มีทั้งทีมจากเอเชียและอเมริกาใต้ได้เลย จนลงเอยที่กลุ่ม D กับ ฝรั่งเศส, เดนมาร์ก และ ตูนีเซีย ไปโดยปริยาย ซึ่งเคสดังกล่าวต้องถูกคำนวณมาตั้งแต่การจับโถก่อนหน้า เพื่อให้ทีมจากรอบเพลย์ออฟชุดนี้มีที่ลงได้ และไปตัดลดโอกาสที่ทีมใหญ่ๆอาจจะโคจรมาชนกันได้ลงไปอีก

UFABETWIN

 

แน่นอนว่าวิธีการดังกล่าวก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบเสียทีเดียว เพราะทีมที่ถูกเลือกขึ้นมาก่อนจากโถนั้นๆย่อมมีโอกาสประกบคู่ที่หลากหลายกว่าทีมท้ายๆ เช่นกรณีของ แคนาดา ทีมสุดท้ายจากโถ 4 ผู้ถูกโยนเข้าไปอยู่กลุ่มเดียวกับ เบลเยียม, โครเอเชีย และ โมร็อกโก แบบไม่มีทางอื่นให้เลือกได้เลย ซึ่งก็มีกลุ่มคนที่พยายามหาทางออกดังกล่าวด้วยการเล่นกับตัวเลขและความน่าจะเป็นอยู่

ในขณะที่ระบบเดิมก่อนการจับสลากปี 2018 ฟีฟ่าจะนำระบบทีมวางมาใช้เพียงแค่กับทีมในโถที่ 1 ขณะที่ทีมในโถที่ 2, 3 และ 4 จะเป็นการนำทีมจากทวีปเดียวกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

เช่นใน ฟุตบอลโลก 2002 ที่ทีมในโถ 1 ประกอบด้วยทีมเจ้าภาพ ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ฝรั่งเศส แชมป์เก่า และทีมวางอย่าง บราซิล, อาร์เจนตินา, เยอรมนี, อิตาลี และ สเปน ขณะที่ทีมจากยุโรปทั้งหมดที่ไม่ใช่ทีมวางจะอยู่ในโถที่ 2, ทีมจากโซนเอเชีย/อเมริกาใต้ จะอยู่ในโถที่ 3 และโถที่ 4 เป็นการนำทีมจากทวีปแอฟริกามารวมกับทีมจากโซนคอนคาเคฟ โดยทีมในโถที่ 2, 3 และ 4 จะไม่มีการจัดสรรจากอันดับโลก

ดังนั้น จากการจับสลากเราจึงได้เห็นกรุ๊ป ออฟ เดธ อย่าง สวีเดน, อังกฤษ, อาร์เจนตินา และ ไนจีเรีย มาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ขณะที่บางกลุ่มนั้นไม่ถือว่าหนักมาก เช่น ญี่ปุ่น(เจ้าภาพ), เบลเยียม, รัสเซีย และ ตูนีเซีย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยสีสันของการได้ลุ้นผ่านหน้าจอถ่ายทอดสด ควบคู่กับความต้องการให้การแข่งขันมีความใกล้เคียงกันมากที่สุดจาก การจับสลากแบ่งกลุ่มแบบดังกล่าวก็จะยังคงอยู่ต่อไป จนกระทั่งการมาของฟุตบอลโลก 2026 ที่มีการเพิ่มจำนวนชาติเข้าร่วมเป็น 48 ประเทศ ผ่านการแบ่งออกเป็น 16 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ทีม ที่อาจจะทำให้เราได้เห็นการแข่งขันอันเข้มข้นขึ้น หรือถึงขั้นอาจมี กลุ่มแห่งความตาย เกิดขึ้นแบบจริงจังก็เป็นได้

แต่จนกว่าจะถึงวันนั้น การแบ่งกลุ่มสำหรับฟุตบอลโลก 2022 ก็เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ ก็ไม่อาจย้อนเวลากลับไปแก้ไขผลการจับสลากแบ่งกลุ่มได้อีกตลอดกาล

UFABETWIN