UFABETWINS “ปัญหาคือเราจัดการ ชาบูม ไม่ได้ เราไม่สามารถหยุดเขาได้เลย เขาหยุดไม่อยู่” อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เคยกล่าวเอาไว้สมัยคุม อเบอร์ดีน
หากพูดถึงนักเตะเอเชียในยุโรป “ชา บอม กึน” ดาวยิงระดับตำนานเกาหลีใต้ น่าจะเป็นชื่อลำดับต้น ๆ ที่หลายคนนึงถึง เขาทำผลงานได้อย่างโดดเด่นในบุนเดสลีกาให้กับ ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต และ ไบเออร์ เลเวอร์คูเซน จนได้รับการยกย่องให้เป็นนักเตะเอเชียที่เก่งที่สุดเท่าที่เคยมีมา อย่างไรก็ดี
แม้ว่าเขาจะจารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์มากมาย แต่การไปยุโรปครั้งแรกของเขาล้วนเต็มไปด้วยความวุ่นวาย และที่สำคัญมันไม่ได้มีสาเหตุมาจากฝั่งสโมสรเยอรมัน แต่กลับเป็นชาติบ้านเกิดของเขาเองติดตามเรื่องราวของมหากาพย์การย้ายทีมไปยุโรปของ “ชา บอม กึน” จุดเริ่มต้นจากกองทัพ “นักเตะที่เกิดมาเป็นตำนาน”
อาจจะเป็นคำจำกัดความที่ดีที่สุดของ ชา บอม กึน เขาเกิดในปี 1953 และเริ่มได้รับการจับตามองมาตั้งแต่สมัยเล่นให้โรงเรียนมัธยมปลายคยุงชิน รวมไปถึงติดทีมชาติชุดใหญ่ตั้งแต่อายุเพียงแค่ 18 ปี หลังจบมัธยมปลายเขาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกาหลีในปี 1972 และที่แห่งนั้นก็ทำให้เขาชื่อของเขาเป็นที่รู้จัก
ในวงกว้าง เมื่อ ชา สามารถพาทีมมหาวิทยาลัยคว้าถ้วย ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเกาหลี (เอฟเอคัพเกาหลีในปัจจุบัน) ในปี 1974 ได้สำเร็จ ผลงานอันโดดเด่นในทีมมหาวิทยาลัย ทำให้ ชา กลายเป็นนักเตะเนื้อหอม และมีหลายทีมพากันจับจองตัวหลังเรียนจบ แต่สุดท้ายกลายเป็นสโมสรธนาคารโคเรีย ทรัสต์
ที่ได้ตัวเขาไปครอบครอง และมันก็เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องสำหรับธนาคารโคเรีย ทรัสต์ เมื่อ ชา ทำผลงานได้อย่างสุดยอดตั้งแต่ปีแรกที่มาถึง เขาพาทีมคว้าแชมป์ลีกกึ่งอาชีพเกาหลี ประจำฤดูใบไม้ผลิในปี 1976 พร้อมได้รับตำแหน่งนักเตะยอดเยี่ยมไปนอนกอด อย่างไรก็ดี แม้ว่า ชา จะมีฝีเท้าที่เก่งกาจแค่ไหน
แต่ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งรอเขาอยู่ นั่นคือการเกณฑ์ทหาร เนื่องจากเกาหลีใต้ยังเป็นประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม (กับเกาหลีเหนือ) ทำให้ชายชาวเกาหลีทุกคนต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารโดยไม่มีข้อยกเว้น ชา เองก็รู้ดีในเรื่องนี้ เขาอยากจะจัดการปัญหานี้ให้เสร็จสิ้น เพื่อที่จะได้สานต่อเส้นทางนักฟุตบอลโดยไม่ต้องกังวล
ทำให้เขาตัดสินใจเข้ารับราชการทหารหลังจบฤดูกาลแรกกับธนาคารโคเรีย ทรัสต์ ในตอนแรกเขาตั้งใจจะเข้าสังกัดกองทัพเรือ เนื่องจากพวกเขามีสโมสรฟุตบอลที่แข็งแกร่งที่สุดในสามเหล่าทัพ และมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน แต่ข้อเสนอจากกองทัพอากาศก็ทำให้เขาหยุดคิด ความเป็นจริง กองทัพอากาศเป็นทีมเกิด
ใหม่หลังเพิ่งก่อตั้งในปี 1972 และแทบไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน เรียกได้ว่าเป็นรองกองทัพเรืออย่างสุดขีด การจะดึง “ว่าที่นักเตะที่เก่งที่สุดของเกาหลี” จึงดูเป็นเรื่องยาก ทำให้พวกเขายื่นข้อเสนอว่าจะช่วยลดเวลาการรับราชการ หาก ชา มาอยู่กับ ROK Air Force “ปกติแล้วการรับราชการในกองทัพอากาศจะใช้เวลา
35 เดือน แต่ผมสามารถทำให้คุณปลดประจำการได้ก่อน 5 เดือน” จู ยอง บ็อค เฮดโค้ชของ ROK Air Force บอกกับ ชา มันคือข้อเสนอที่ไม่เลว เพราะปกติแล้วการรับราชการนั้นกินเวลามากเกือบ 3 ปี สำหรับ ชา ที่กำลังมีอนาคตที่สดใสในเส้นทางฟุตบอล การได้ปลดประจำการยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งเป็นเรื่องดี
ทำให้สุดท้ายเขาเลือกเข้าสังกัดกองทัพอากาศ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของความวุ่นวาย จดหมายถึงศาตราจารย์ การไปรับราชการทหารสำหรับบางคน อาจจะทำให้ฟอร์มของพวกเขาตกลง แต่มันก็ใช้ไม่ได้กับ ชา เมื่อเขายังทำผลงานได้อย่างสุดยอดกับทีมชาติเกาหลีใต้ ด้วยการยิงให้ทัพโสมขาวไปถึง 28 ประตู
จาก 46 นัดในช่วงปี 1976-77 ความยอดเยี่ยมของเขาในสีเสื้อทีมชาติ ทำให้ชื่อเสียงของเขาดังไปไกลถึงต่างประเทศ ว่ากันว่าในตอนนั้น มี 7 ทีมจากต่างแดนที่กำลังให้ความสนใจในตัวเขา โดยหนึ่งในนั้นคือสโมสรจากอเมริกาใต้ อย่างไรก็ดี พวกเขาก็แค่ให้ความสนใจเท่านั้น และไม่มีทีมไหนยื่นข้อเสนออย่าง
เป็นทางการ เพราะตอนนั้น ชา ยังมีสถานะเป็นทหาร บวกกับแทบไม่มีนักเตะเกาหลีคนไหนที่ย้ายไปค้าแข้งในลีกใหญ่ โดยเฉพาะยุโรปมาก่อน จนกระทั่งในเดือนกันยายน ปี 1978 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของการรับราชการทหาร ชา ถูกเรียกติดทีมชาติเกาหลีใต้ ลงบู๊ในถ้วยประธานาธิบดีพัค (เกาหลีคัพ)
ที่มีทั้งทีมชาติและสโมสรเข้าร่วม ก่อนที่มันจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเขา ในทัวร์นาเมนต์ดังกล่าวที่เกาหลีใต้เป็นฝ่ายคว้าแชมป์ ชา อาจจะไม่ได้โชว์ฟอร์มเปรี้ยงปร้าง เมื่อยิงไปเพียงแค่ 2 ประตู แต่ลีลาการเล่นของเขากลับไปเตะตา ดีเตอร์ ชูลต์ โค้ชของ ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต ที่พาทีมสำรองมาร่วมเตะ
ในรายการนี้ เขาชื่นชอบฝีเท้าของ ชา มาก และมองว่านักเตะคนนี้จะมีอนาคตที่สดใสหากได้ไปค้าแข้งในยุโรป เขาจึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับ Bandus บริษัทอุปกรณ์กีฬาสัญชาติสวิส “นี่คือนักเตะที่ยอดเยี่ยมที่สุดในเกาหลี ผมมั่นใจว่านักเตะคนนี้จะประสบความสำเร็จถ้าเขามาเยอรมันตะวันตก
โปรดช่วยลงทุนเพื่อนักเตะคนนี้” ชูลต์บอกกับว่าที่สปอนเซอร์ หลังจากปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอล Bandus ก็ตกปากรับคำ ชูลต์ โดยยินดีที่จะเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการพาชามาเยอรมัน และหลังได้รับคำตอบ ชูลต์ ก็เขียนจดหมายไปหา พัค ดองฮี ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยคอนกุ๊ก
ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานของสมาคมฟุตบอลเกาหลีใต้ (KFA) “Bandus จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดในการพา ชา บอม กึน ไปเล่นในสโมสรอาชีพเยอรมันตะวันตก โปรดส่งชามาเยอรมันตะวันตกภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน หรืออย่างช้าที่สุดต้นเดือนธันวาคม” เนื้อความในจดหมายว่าเอาไว้ ดูเหมือนจะเป็นอนาคต
ที่สดใสสำหรับชา เพราะนี่เป็นเหมือนจดหมายเชิญไปค้าแข้งในยุโรป แถมยังเป็นบุนเดสลีกา หนึ่งในลีกที่ดีที่สุดของโลกในตอนนั้น นอกจากนี้การได้ไปที่นั่นไม่เพียงแต่ทำให้เขาได้พัฒนาฝีเท้า แต่ยังทำให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลอีกด้วย อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงมันไม่ง่ายขนาดนั้น ไม่ให้เธอไป
ปลายทศวรรษที่ 1978 ถือเป็นช่วงเวลาที่พอเหมาะสำหรับชา ในการออกไปเล่นในต่างแดน เพราะตอนนั้นเขาอายุ 25 ปีแล้ว ซึ่งถือว่าไม่แก่และไม่หนุ่มเกินไป แถมหนึ่งปีก่อนนั้น ยาสุฮิโกะ โอคุเดระ นักเตะชาวญี่ปุ่น ก็เพิ่งย้ายไปค้าแข้งกับ โคโลญจน์ นอกจากนี้ แม้ว่าในตอนนั้น ยังไม่ได้รับประกันว่า ชา จะมีสโมสรลงเล่น
ในเยอรมันตะวันตก เพราะเขายังต้องไปทดสอบฝีเท้าก่อน แต่ผลงานอันยอดเยี่ยมในทีมชาติ ทำให้เชื่อได้ว่าเขามีโอกาสไม่น้อยที่จะได้ไปโชว์ฝีเท้าที่นั่น ทว่า ทันทีที่ พัค ดงฮี นำเรื่องนี้ไปบอกสมาคมฟุตบอลเกาหลีใต้ เรื่องที่ดูเหมือนจะง่าย กลับกลายเป็นเรื่องยาก เมื่อ KFA ค้านแบบหัวชนฝา และไม่อนุญาตให้
ชา ออกไปเล่นในต่างแดน โดยมีเหตุผลสำคัญคือกลัวจะเสียเขาไปตลอดกาล แม้ว่าในปัจจุบัน สมาคมฟุตบอลของประเทศในแถบเอเชีย จะสนับสนุนให้นักเตะออกไปเล่นในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และพัฒนาฝีเท้า แต่ในอดีตมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในทศวรรษที่ 1970-1980
การเดินทางยังไม่ได้สะดวกสบาย และมีค่าใช้จ่ายสูง การปล่อยให้นักเตะออกไปเล่นในต่างประเทศ อาจจะมีความหมายว่าทีมชาติต้องหมดสิทธิ์ใช้งานนักเตะเหล่านั้นไปโดยปริยาย เพราะในยุคนั้นยังไม่มีกฎบังคับว่าผู้เล่นต้องกลับมาเล่นทีมชาติในวันฟีฟ่าเดย์ นอกจากนี้ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เกาหลีใต้ยังไม่มีลีก
อาชีพอย่างเป็นทางการ (เคลีกก่อตั้งในปี 1983) ในขณะที่ลีกกึ่งอาชีพ ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก ทำให้ KFA มีทีมชาติเป็นตัวชูโรงเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากไม่มี ชา ในสีเสื้อของโสมขาว อาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อ ความนิยมของฟุตบอลในประเทศ “การไม่มี ชา บอม กึน ความคลั่งไคล้ต่อฟุตบอลก็จะลดลง
นอกจากนี้มันยังไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเดินหน้าต่อไปในช่วงเวลานี้ ที่กำลังตั้งเป้ากับโอลิมปิก 1980 ที่มอสโก ในสถานการณ์ที่ คิม แจ ฮัน ไปเล่นไม่ได้ ถ้าเสียเขาไปอีก เราคงเสียใจ ฟุตบอลเกาหลี สมควรเป็นที่รู้จักในเวทีระดับนานาชาติ และควรกลับไปยังจุดนั้น” KFA ให้เหตุผล “ในขณะเดียวกัน แน่นอนว่าอาจจะเป็นไป
ได้ที่จะวางเงื่อนไขในสัญญาให้เขากลับมาช่วยบ้านเกิด แต่มันก็ยังเป็นคำถามถ้าทำได้จริงหรือไม่” “นอกจากนี้มันยังเป็นไม่ได้ที่จะปล่อยให้นักเตะที่ค้าแข้งในต่างแดนลงเล่นในตำแหน่งสำคัญในเกมใหญ่ ที่กุมชะตากรรมของประเทศเอาไว้ เพราะต้องใช้เวลาพอสมควรในการฝึกฝนให้เข้ากับทีม”
ในขณะเดียวกัน กองทัพอากาศ ต้นสังกัดก็ไม่เห็นด้วยกับการไปเยอรมันตะวันตกเช่นกัน ทำให้เขาถูกสั่งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ยกเว้นเดินทางไปเล่นให้กับทีมชาติเกาหลีใต้ เท่านั้น ทำให้ท้ายที่สุด KFA จึงได้ส่งจดหมายในเชิงปฏิเสธด้วยเนื้อหาที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลกลับไป “หลายปีก่อน ตอนที่โอคุเดระ
ย้ายไปเยอรมันตะวันตกครั้งแรก เขาได้เงินเดือน 4,000 ดอลลาร์ (ราว 120,000 บาท) เพราะฉะนั้น ชา ควรได้รับ 7,000 ดอลลาร์ (210,000 บาท)” ข้อความในจดหมายระบุ “นอกจากนี้ ชา บอม กึน
ไม่สามารถไปเยอรมันภายในต้นเดือนธันวาคมอย่างที่คุณแจ้งมา เพราะเขาต้องไปแข่งเอเชียนเกมส์ที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้น ถ้าคุณอยากเจอเขา ให้คุณมาที่กรุงเทพฯ เพื่อดูเขาเล่นแทน” อย่างไรก็ดี ความพยายามของ ดีเตอร์ ชูลต์ ก็ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป
คลิ๊กเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล