UFABETWINS ฟุตบอลอังกฤษมีวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ไม่ว่าสโมสรใดก็ต้องถือปฎิบัติเช่นนั้นมาเสมอ
นั่นคือ แม้ทีมของคุณจะซื้อนักเตะเก่ง ๆ จากทั่วโลกมารวมตัวกันในทีมจนประสบความสำเร็จ แต่หนึ่งในความสำเร็จนั้นจะต้องมีนักเตะท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบด้วย และนี่คือเรื่องรางของทีม วูล์ฟแฮมป์ตัน ที่ประกอบไปด้วยนักเตะตัวจริงที่เป็นชาวโปรตุเกส 8 คน ที่เหลือเป็น สเปน 1 คน และ เม็กซิโก 1 คน ส่วนนักเตะท้องถิ่นเพียงคนเดียวที่ยืนหยัดอยู่ได้ และเป็นถึงกัปตันทีมคือ “คอเนอร์ โคอาดี้”ในทีมที่วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันเต็มไปด้วยคนโปรตุกีสทั้งนักเตะและสตาฟฟ์โค้ชเกิน 15 คน เหตุใดจึงไม่มีใครสามารถเป็นหัวใจ
ของทีมได้เท่ากับ โคอาดี้ … เขาทำตัวอย่างไรจึงยังเป็นหัวหน้าที่นักเตะทุกคนยอมรับและเคารพในปลอกแขนที่เขาสวมใส่ ติดตามได้ที่นี่ความล้มเหลวที่ แอนฟิลด์ คอเนอร์ โคอาดี้ เกิดที่ เซนต์ เฮเลนส์ เมอร์ซี่ย์ไซด์ แน่นอนว่าการเกิดที่เมืองนี้ทำให้เขามีสิทธิ์เลือกเชียร์เพียง 2 ทีมโดยหลัก นั่นคือ ลิเวอร์พูล และ เอฟเวอร์ตัน ซึ่งเจ้าตัวเลือกฝั่งสีแดงอย่าง ลิเวอร์พูล ตามคุณพ่อที่เป็นแฟนบอลหงส์แดงตัวยงบ เขาเหมือนเด็กอังกฤษทั่วไปที่ต้องการจะเลือกเส้นทางนักฟุตบอลอาชีพ โชคดีที่ แอนดี้ โคอาดี้ พ่อของเขาเป็นคนบ้า
ฟุตบอลมาก จึงสนับสนุนแนวคิดนี้อย่างเต็มที่ และส่งลูกชายเข้าระบบเยาวชนของ ลิเวอร์พูล ตั้งแต่ 9 ขวบเลยทีเดียว ช่วงเวลากับ ลิเวอร์พูล ของ โคอาดี้ นั้น ทุกคนรู้กันดีว่าเขาไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกเรียกว่า “นิว สตีเว่น เจอร์ราร์ด” เพราะเป็นเด็กท้องถิ่นและเล่นตำแหน่งกองกลางห้องเครื่องเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ลิเวอร์พูล ในยุคที่ โคอาดี้ เริ่มมีบทบาทตัวเด่นจากทีมยู 18 เป็นช่วงเวลาที่สโมสรจับต้นชนปลายไม่ถูก การเปลี่ยนโค้ช การบริหารของเจ้าของทีมที่ถูกเรียกว่า “ปลิงมะกัน”
รวมถึงการซื้อตัวที่ผิดพลาด เน้นปริมาณแต่ไม่ได้คุณภาพ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้นักเตะท้องถิ่นหรือแข้งจากทีมเยาวชนอย่าง โคอาดี้ โดนมองข้ามเสมอ แฟรงค์ แม็คฟาร์แลนด์ ผู้จัดการทีมอคาเดมียืนยันว่า เขาคอยส่งรายงานให้กุนซือทีมชุดใหญ่เสมอว่า โคอาดี้ คือเด็กหนุ่มที่พร้อมกับฟุตบอลระดับสูงเป็นอย่างมาก จุดเด่นที่ แม็คฟาร์แลนด์ ยกย่องโคอาดี้คือ “เด็กคนนี้รู้ว่าตัวเองมีดีอะไร และมีสภาพจิตใจที่แข็งแกร่ง
ระดับสามารถเป็นนักเตะขั้นลีดเดอร์ของทีมได้ในอนาคต” “ผมบอกทุกคนมาหลายครั้งว่าตั้งแต่ผมอยู่อคาเดมี ลิเวอร์พูล มา โคอาดี้ คือนักเตะที่ผมคิดว่ามีคุณสมบัติจะพัฒนาไปข้างหน้าและเหมาะกับทีมมากที่สุด ยิ่งกว่า ราฮีม สเตอร์ลิ่ง ด้วยซ้ำ เด็กคนนี้เป็นคนที่คอยจัดการทีมในสนามเหมือนกับเป็นโค้ชที่ลงไปเล่นเอง ถ้าคุณจะมองหากัปตันทีมผู้มีทัศนคติที่ถูกต้องคุณคงต้องมองหาเขาเป็นอันดับแรก คอเนอร์ คือทุกสิ่งที่คุณคาดหวังจากนักเตะเลือดสเกาเซอร์” แม็คฟาร์แลนด์ กล่าว อย่างไรก็ตามแค่นี้ไม่พอ … ในทีมชุดใหญ่นั้น
พวกเขาไม่ต้องการเด็กอายุ 17, 18 หรือ 19 ปี ลงสนามและตะโกนสั่งการผู้เล่นคนอื่น เพราะทุกทีมมีผู้นำในสนามอยู่แล้ว สิ่งทีทุกทีมต้องการคือเด็กที่เก่งจริง สามารถเล่นด้วยคุณภาพระดับเดียวกับรุ่นพี่ในทีม ซึ่งนั่นเป็นจุดเดียวที่ โคอาดี้ ขาด และอีกครั้งที่เราต้องบอกว่าน่าเสียดาย เพราะ ลิเวอร์พูล รอให้เขาเก่งไม่ไหว “คอเนอร์ ขาดคุณสมบัติเรื่องฝีเท้าอีกนิดเดียวจริง ๆ ต้องยอมรับว่าเขามีพรสวรรค์ไม่เท่า เจอร์ราร์ด และความพอดีของช่วงเวลาและจังหวะมันไม่ใช่ ณ เวลานั้น ทุกคนลงความเป็นว่าเขายังต้องพัฒนาอีกในแง่ของ
ฝีเท้า” แม็คฟาร์แลนด์ เล่าถึงเหตุผลที่ ลิเวอร์พูล ปล่อย โคอาดี้ ให้ เชฟฯ ยูไนเต็ด ยืมตัว ก่อนสุดท้ายจะขายขาดให้กับ ฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์ โดยตลอดช่วงเวลาที่ แอนฟิลด์ โคอาดี้ ได้ลงสนามเพียง 1 เกมเท่านั้น แพ้เป็นถ่าน ผ่านเป็นเพชร เราได้ยินเรื่องแบบนี้มาบ่อยครั้งเหลือเกิน นักเตะท้องถิ่นที่มีความสามารถก้าวขึ้นมาเป็นกำลังหลัก แต่พอโอกาสมาจริง ๆ พวกเด็กเหล่านี้ก็ยังไม่ดีพอ จนนำมาซึ่งจุดหนึ่งที่พวกเขาเริ่มมีอายุมากขึ้นและต้องการประสบการณ์ลงแข่งขันจริง ทีมจึงต้องปล่อยพวกเขาออกไปเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดทั้ง
สองฝ่ายนักเตะหลายคนที่อยู่ในเคสเช่นนี้ ส่วนใหญ่มักจะโดนขายให้กับทีมเล็ก ๆ ในลีกรอง และส่วนใหญ่มักจะไปแล้วไปเลย ไม่สามารถทำได้อย่างที่ใครคาดการณ์ไว้ … โคอาดี้ ต้องการพิสูจน์ว่าเขาไม่ใช่นักเตะประเภทนั้น แม้การมาเล่นให้ฮัดเดอร์สฟิลด์จะเป็นการถอยหลังในอาชีพค้าแข้ง แต่เขามองว่านี่คือช่วงเวลาที่เขาจำเป็นจะต้องถอยหลังเพื่อตั้งหลัก ไม่ใช่ถอยหลังเพราะสู้ไม่ไหว “ผมรู้ว่าการเป็นตัวจริงที่ลิเวอร์พูลมันยากมาก ณ ตอนนั้น ผมมี เจอร์ราร์ด, จอร์แดน เฮนเดอร์สัน, โจ อัลเลน และ ลูคัส เลวา ขวางหน้า ผมว่าผม
ควรต้องหาโอกาสลงสนามจริง ๆ เพราะผมไม่อยากจะเล่นในระดับทีมยู 23 อีกแล้ว””เบรนแดน ร็อดเจอร์ส บอกผมว่าเขาเสียใจมากกับการจะย้ายออกของผม แต่เขาบอกว่าเขาจะหาทีมที่เหมาะสมและดีกับพัฒนาการของผมที่สุด และมันโชคดีจริง ๆ ที่ผมได้มาเล่นให้กับ ฮัดเดอร์สฟิลด์ ผมพร้อมากที่จะย้ายออก มันไม่ง่ายเพราะผมอยู่ที่ลิเวอร์พูลมาเกือบทั้งชีวิต แต่เมื่อเติบโตขึ้นผมก็มองโลกด้วยความเป็นจริงมากขึ้นเหมือนกัน”500,000 ปอนด์ คือค่าตัวของ โคอาดี้ ณ เวลานั้น เขาเล่นด้วยทัศคติเดียวกันกับเมื่อครั้งที่อยู่กับ
ลิเวอร์พูล และนั่นทำให้เด็กคนนี้กลายเป็นคนสำคัญในแผงมิดฟิลด์ของ ฮัดเดอร์สฟิลด์ และหลังจากนั้นเพียง 2 ปี เขามีค่าตัวเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าจากการย้ายไปอยู่กับ วูล์ฟส์ ด้วยราคา 2 ล้านปอนด์ ณ เวลานั้น (ปี 2015) เจ้าของทีม วูล์ฟส์ คือ สตีฟ มอร์แกน นักธุรกิจชาวอังกฤษ ดังนั้นนโยบายการซื้อขายของทีมในช่วงนั้นมักจะเน้นไปที่การคว้าผู้เล่นท้องถิ่นซึ่งมีราคาไม่แพงจนเกินไป เพราะเป้าหมายของทีมไม่ใช่การกลับไปสู่พรีเมียร์ลีกแบบก้าวกระโดดด้วยเงินทุนที่มีจำกัด พวกเขาเน้นประคองตัวเองให้อยู่รอด และถ้าโชคดีอาจจะ
ได้เกี่ยว ๆ อันดับเพลย์ออฟบ้าง คนที่ซื้อตัว โคอาดี้ มาอยู่กับ วูล์ฟส์ คือกุนซือที่ชื่อว่า เคนนี่ แจ็คเก็ตต์ โดยสิ่งที่เขาเห็นในตัวของ โคอาดี้ นั้นคือสิ่งเดียวกันกับที่ แม็คฟาร์แลนด์ เห็น … นั่นคือความเปล่งประกายในฐานะผู้นำ วูล์ฟส์ ตอนนั้นต้องการผู้นำในห้องแต่งตัวเพื่อให้ทีมเล่นอย่างกระหายและหิวชัยชนะ ดังนั้น 2 ล้านปอนด์จึงถูกจ่ายให้กับ ฮัดเดอร์สฟิลด์ อย่างไม่คิดมาก “ผมเซ็นสัญญากับ คอเนอร์ ด้วยตัวเอง ผมชอบเขามานานแล้ว ผมได้ยินเรื่องราวของเขามาตั้งแต่ที่ยังเล่นให้ลิเวอร์พูล ผมตั้งใจวางตัวให้เขาเข้ามาและเป็น
กัปตันทีม ผมเชื่อเสมอว่าเขาสามารถเป็นคนนั้นของเราได้” แจ็คเก็ตต์ กล่าวปีแรกของ วูล์ฟส์ โคอาดี้ ได้ลงสนามต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้เป็นกัปตันทีมเพราะมี แดนนี่ บาธ กองหลังชาวอังกฤษที่รับบทบาทนั้นไป วูล์ฟส์ จบฤดูกาลด้วยการอยู่ในอันดับที่ 14 ตามเป้าหมาย อยู่รอดปลอดภัยและค่อยๆเสริมทีมจนกว่าจะถึงเวลาทีเป็นผู้ท้าชิงอย่างไรก็ตามช่วงเวลาแห่งการรอคอยไม่ได้ยาวนานอย่างที่คิด เพราะหลังจากนั้นไม่ถึงปี มอร์แกน ก็ตัดสินใจขายสโมสรให้กลุ่มทุนจากจีนที่ชื่อว่า โฟซัน อินเตอร์เนชั่นแนล (Fosun International) ซึ่ง
เป็นบริษัทที่มีธุรกิจครบวงจรตั้งแต่ขายประกันภัย การลงทุน ไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์ โดยเจ้าของใหม่ตั้งเป้าหมายทันทีว่า “ปีนี้ตั้งหลัก ปีหน้าเลื่อนชั้น” ไม่เกิน 2 ปี ทีมต้องอยู่ ในพรีเมียร์ลีกให้ได้ ปีแรก โฟซัน ไม่ได้ลงทุนอะไรมากมายนัก เชื่อมั่นในกลุ่มซีอีโอจากรุ่นที่แล้ว รวมถึงแกนหลักที่เป็นนักเตะและโค้ชท้องถิ่น แต่ผลงานของทีมในฤดูกาล 2016-17 ออกมาอย่างน่าผิดหวัง จบอันดับแย่กว่าปีที่แล้ว (อันดับ 15) แถมยังเปลี่ยนโค้ชกันมั่วซั่วไปหมดถึง 5 คนในฤดูกาลเดียว ซึ่งกุนซือคนที่ 5 นี่แหละที่เป็นจุดเปลี่ยนของทีมอย่าง
แท้จริงเพราะเขาคนนั้นคือ นูโน่ เอสปิริโต้ ซานโต้ ที่เข้ามาหลังจากฤดูกาลจบลง โดยการเข้ามาของเขานั้นเกิดขึ้นจากความสนิทสนมระหว่าง ฮอร์เก้ เมนเดส ซูเปอร์เอเย่นต์ชาวโปรตุกีส ที่เป็นเอเย่นต์ของเขานั่นเอง เมื่อฤดูกาล 2016-17 จบลง เมนเดส ก้าวมามีบทบาทสำคัญในการพานักเตะเข้ามาสู่ทีม วูล์ฟส์ โดยได้รับสิทธิ์การตัดสินใจจาก โฟซัน อย่างเต็มที่ แหละนั่นคือเหตุผลที่ว่าไมนักเตะ โปรตุกีส ตบเท้าเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของทีมแบบไม่หยุด และนักเตะทั้งหมดคือลูกค้าของ เมนเดส ทั้งสิ้น … วัฒนธรรมของ วูล์ฟส์
กำลังจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง “โยโย่ ทีม” (ที่ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ มาตรฐานไม่ดีพอสำหรับลีกสูงสุด แต่ก็ดีเกินกว่าจะอยู่ในลีกรอง) ที่ใช้นักเตะอังกฤษเกรดรอง จะหันมาใช้นักเตะต่างชาติเกรดที่ดีกว่าและราคาถูกกว่าอย่างเต็มที่ สิ่งเดียวที่จะหยุดการซื้อตัวนักเตะโปรตุกีสของ วูล์ฟส์ ได้คือกฎผู้เล่นโฮมโกรว์น (ผู้เล่นที่เติบโตกับสโมสรในอังกฤษเอง) เท่านั้น … ดังนั้นใครคือนักเตะท้องถิ่นที่ไม่เก่งจริงจะต้องกระเด็นออกไป เพื่อเปิดทางให้ผู้มาใหม่ที่ดีกว่า และตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของกุนซือ เอสปิริโต้ ซานโต้ มากกว่านั่นเอง
คลิ๊กเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล