UFABETWINS ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ฤดูกาล 2020-21 ของหลาย ๆ ลีกในยุโรปเริ่มต้นขึ้น
อีกด้านของความบันเทิงที่มอบแก่แฟนบอลทั่วโลก คือ ความกังวลเรื่องอาการบาดเจ็บที่เพิ่มมากขึ้น จากโปรแกรมลงสนามอย่างต่อเนื่อง เพราะนักฟุตบอลอาชีพส่วนใหญ่ในยุโรป แทบไม่ได้พักหลังฤดูกาลที่แล้ว ต้องพักเบรกยาวระหว่างซีซั่น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 จนมาอัดโปรแกรมช่วงท้ายฤดูกาล จากนั้น นักเตะต้องไปเล่นให้ทีมชาติ และรีบกลับมาแข่งให้สโมสรต่อ สมมติฐานที่ว่า นัก
เตะมีโอกาสบาดเจ็บเพิ่มได้ง่ายกว่าเดิม จริงเท็จแค่ไหน ? แล้วแบบนี้ สโมสรจะมีวิธีป้องกันหรือไม่ เรามีคำตอบจากงานวิจัย และข้อมูลทางการแพทย์มาฝากเตะถี่มาก โอกาสเจ็บมากงานวิจัยเรื่องอาการบาดเจ็บของนักเตะที่เพิ่มขึ้น จากโปรแกรมอัดแน่น ช่วงโควิด-19 ถูกเผยแพร่ออกมา ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2020
โดยโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ Zone7 ที่เก็บข้อมูลอาการบาดเจ็บของนักฟุตบอลชั้นนำในลีกยุโรป อย่าง
อังกฤษ, อิตาลี, สเปน, ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา เป็นเวลายาวนานกว่า 3 ปีZone7 ชี้ว่าอาการบาดเจ็บของนักเตะ แปรผันตรงกับโปรแกรมการแข่งขันที่ถี่ขึ้น ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน ผลวิจัยที่ออกมา สรุปว่า นักเตะที่ลงเล่นมากกว่า 6 นัด ภายใน 30 วัน จะมีความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ มากกว่าผู้เล่นส่วนมากในยุโรปตัวอย่างที่เห็นชัดจากกรณีนี้ คือ บรรดาผู้เล่นของสโมสรชั้นนำ ที่ลงแข่งขันฟุตบอลระดับทวีป ทั้ง รอบแบ่ง
กลุ่มของฟุตบอล ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก หรือ ยูโรป้า ลีก ควบคู่กับโปรแกรมในลีก ช่วงปลายเดือนกันยายน จนถึงเดือนธันวาคม มีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บ สูงกว่าเกณฑ์ปกติรายงานของ Zone7 ยังระบุอีกว่า ความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ จะลดลงในช่วงพักเบรคหน้าหนาว ก่อนกลับมาสูงอีกครั้ง ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงปลายเดือนเมษายน ที่สโมสรชั้นนำกลับมาลงเตะฟุตบอลระดับทวีปอีกครั้ง มีเพียงลีกเดียว
ที่เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บของนักเตะแทบทั้งฤดูกาล คือ พรีเมียร์ลีก เนื่องจากฟุตบอลในอังกฤษ ไม่มีการพักเบรคหน้าหนาวเหมือนประเทศอื่นZone7 แสดงกราฟเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง จำนวนการแข่งขันใน 30 วัน กับ อัตราการบาดเจ็บของนักเตะ พบว่า การลงเล่น 3-5 นัด ในช่วงเวลา 30 วัน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บใกล้เคียงกัน หรืออยู่ในระดับมาตรฐาน แต่หากเพิ่มการแข่งเป็น 7 หรือ 8 นัด นักเตะจะมี
โอกาสบาดเจ็บเพิ่มขึ้นกว่าปกติ 25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อหันมามองตารางแข่งขันของทีมใหญ่ในพรีเมียร์ลีก แม้ยังไม่มีการประกาศโปรแกรมของ ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก, เอฟเอ คัพ และคาราบาว คัพ อย่างเป็นทางการ แต่หากเปรียบเทียบกับฤดูกาลก่อน นักเตะบรรดาสโมสรชั้นนำในอังกฤษ มีความเสี่ยงเจออาการบาดเจ็บมากกว่าปกตินานหลายเดือนยกตัวอย่าง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่มีโปรแกรมเล่นฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ช่วงเดือน
ธันวาคม และมกราคม ในฤดูกาล 2020-21 รวมกันทั้งหมด 11 เกม เมื่อบวกกับโปรแกรมฟุตบอลถ้วยในประเทศ ทั้ง เอฟเอ คัพ และคาราบาว คัพ ที่ลงแข่งขันในช่วงเวลาเดียวกัน แมนเชสเตอร์ ซิตี้ มีโอกาสลงเล่น 15 นัด ช่วงเดือนธันวาคม ถึงมกราคม เฉลี่ยคือ 7-8 นัด ต่อ 30 วัน หมายความว่า นักเตะต้องลงสนามทุกสามวัน นานติดต่อกัน 2 เดือนมองความเสี่ยงในระยะยาว ช่วงเวลาที่นักเตะมีความเสี่ยงต่ออาการบาด
เจ็บในฤดูกาล 2020-21 อาจยืดระยะกว่าปกติ จากเดิมที่ลดลงหลังเดือนเมษายน ความเสี่ยงนี้อาจอยู่กับผู้เล่นสโมสรใหญ่ถึงจบซีซั่น แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เดิมมีโปรแกรมลงเล่นพรีเมียร์ลีก ในเดือนพฤษภาคม 5 เกม จากปกติคือ 2-3 เกม เนื่องจากต้องหลีกทางให้กับ ยูโร 2020 ที่จะเริ่มในวันที่ 11 มิถุนายน 2021หากสมมติว่า แมนเชสเตอร์ ซิตี้ สามารถเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วย 2 รายการ อย่าง ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก และเอฟเอ
คัพ ที่จัดรอบชิงชนะเลิศช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2021 มีโอกาสที่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จะลงเล่น 7 เกมภายใน 30 วัน เมื่อโปรแกรมเตะแบบถี่ยิบ เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษจิกายน ที่ยูฟ่าจัดโปรแกรมรอบแบ่งกลุ่ม ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก 6 นัด ภายใน 8 สัปดาห์ โอกาสที่นักเตะของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ รวมถึง ทีมอื่นในพรีเมียร์ลีก จะต้องเจอกับความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูงกว่าปกติ ต่อเนื่องกัน 7 เดือน นับตั้งแต่ พฤศจิกายน ปี 2020 จนถึง
พฤษภาคม ปี 2021 พรีซีซั่นน้อย เพิ่มความเสี่ยง ตารางการแข่งขันถี่กว่าปกติ ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ผู้เล่นมีความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น แต่รวมถึงช่วงเวลาการพรีซีซั่นที่สั้นลง หลังสถานการณ์โควิด-19 การแข่งขันฤดูกาล 2019-20 จบลงอย่างเป็นทางการ หลังรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่า แชมป์เปียนส์ลีก เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา ทีมแชมป์อย่าง บาเยิร์น มิวนิค มีเวลาพรีซีซั่นไม่ถึงหนึ่งเดือน ก่อนกลับมาลงแข่งขันศึกบุ
นเดสลีกา เกมแรกของฤดูกาลถัดไป ในวันที่ 19 กันยายนการฝึกซ้อมพรีซีซั่น มีความสำคัญมากต่อการแข่งขันระยะยาว ยิ่งช่วงเวลาการเตรียมตัวก่อนเปิดฤดูกาลน้อยเท่าไหร่ โอกาสเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นเท่านั้นZone7 ออกงานวิจัยบ่งชี้ว่า ความยาวของพรีซีซั่น แปรผันตรงกับอัตราการเกิดอาการบาดเจ็บของผู้เล่นช่วงครึ่งแรกของฤดูกาลตามปกติ การพรีซีซั่นของทีมฟุตบอลในยุโรปควรมีเวลานานกว่า 30 วัน
แม้บางฤดูกาลจะมีความล่าช้า เนื่องจากทัวร์นาเมนต์ทีมชาติ เช่น ฟุตบอลโลก หรือมีเวลาน้อยกว่าปกติ จากการแข่งขันฟุตบอลยุโรปรอบคัดเลือก ที่เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์ไหน สโมสรจะหาทางจัดโปรแกรม พรีซีซั่นไม่ต่ำกว่า 30 วัน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 คือ สิ่งที่โลกฟุตบอลยุคใหม่ไม่เคยเจอ สโมสรในยุโรป มีเวลาพรีซีซั่นสำหรับฤดูกาล 2020-21 น้อยกว่ามาตรฐาน
คลิ๊กเลย >>> UFABETWINS
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล